การใช้ยาฉีดปลวกเป็นวิธีกำจัดปลวกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสะดวกและกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยาฉีดปลวกทำมาจากสารเคมีหลายชนิด ทั้งที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัยต่อตัวเรา ดังนั้นจึงต้องใช้พิจารณาในการเลือกซื้อยาฉีดปลวก เพราะหากไม่ดูให้ดีก่อนเลือกซื้อ นอกจากจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าที่ควร ยังส่งผลเสียต่อเฟอร์นิเจอร์ของเรามากกว่าเดิม รวมถึงในขณะใช้ยาฉีดปลวก หากไม่มีการป้องกันตัวเองให้ดี สารเคมีเหล่านี้ก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะการสูดดม เพราะในขณะที่มีการใช้ยาฉีดปลวก มักจะมีการป้องกันเพียงแค่ผิวหนัง โดยการสวมใส่เสื้อผ้าที่มีแขนยาวและถุงมือ เพื่อป้องกันไม่ให้ละอองของสารเคมีปลิวมาโดนผิวหนัง จนมองข้ามไปว่ากลิ่นของยาฉีดปลวก ไม่ว่าจะกลิ่นหอมหรือเหม็นก็ส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน
ประเภทของยาฉีดปลวกที่นิยมใช้ในประเทศไทย แบ่งได้ 5 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate)
เป็นสารเคมีที่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบ เช่น คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) และ ฟีโนบูคาร์บ (Fenobucarb) มักใช้ฉีดเพื่อเป็นแนวป้องกันปลวก โดยสารเคมีเหล่านี้สามารถกำจัดปลวกได้เมื่อปลวกมาสัมผัสกับสารเคมี แต่เนื่องจากสารเคมีกลุ่มนี้อันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะสารเคมีกลุ่มนี้จะตกค้างในธรรมชาติเป็นเวลานาน ยาฉีดปลวกประเภทนี้จึงไม่นิยมนำมาใช้ฉีดปลวกแล้วในปัจจุบัน - กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (Synthetic Pyrethroid)
เป็นสารเคมีที่สกัดจากพืชในตระกูลดอกเบญจมาศตระกูล Chrysanthemum และต้นเก๊กฮวย ซึ่งมีสารไพรีทริน (Pyrethrins) ที่สามารถใช้กำจัดแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยมากกว่าสารเคมีที่ใช้ฉีดปลวกกลุ่มแรก แต่สารไพรีทรินสลายตัวเร็วเกินไป ทำให้กำจัดปลวกได้เพียงบางส่วน จึงต้องมีการสังเคราะห์สารไพรีทรินให้กลายเป็นสารที่มีชื่อว่า ไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เพราะสารไพรีทรอยด์สามารถอยู่ในธรรมชาติได้นานกว่า และสามารถกำจัดปลวกได้ถึง 7 ชนิด - กลุ่มคลอโรนิโคตินิล (Chloronicotinyl)
เป็นสารเคมีที่สามารถใช้กำจัดปลวกหรือแมลงต่าง ๆ ได้โดยการที่ปลวกหรือแมลงต่าง ๆ มาสัมผัสและกิน โดยสารในกลุ่มนี้ที่นิยมนำมาใช้ฉีดปลวกหรือแมลงต่าง ๆ ในบ้านก็คือ อิมิดาโคลพริด (Imidacloprid) เพราะมีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกและแมลงดีเยี่ยม มีฤทธิ์ทําให้ระบบประสาทของแมลงผิดปกติ จนเกิดภาวะช็อกและตายในที่สุด - กลุ่มฟีนีลไพราโซล (Phenylpyrazole)
เป็นสารเคมีอีกหนึ่งตัวที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการใช้ฉีดปลวก เพราะสารกลุ่มนี้จะมีสารเคมีที่ชื่อว่า ฟิโพรนิล (Fipronil) เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์กระตุ้นกระบวนการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของปลวก ให้ทํางานมากกว่าปกติจนปลวกเกิดการชักและตายยกรังได้ เพราะสารฟิโพรนิลออกฤทธิ์ช้า เมื่อปลวกที่มีสารฟิโพรนิลอยู่บนตัวกลับไปรัง ปลวกตัวอื่น ๆ ที่มาสัมผัสกับปลวกที่มีสารฟิโพรนิลบนตัว ก็จะได้รับสารฟิโพรนิลไปด้วย จนปลวกตายยกรัง นอกจากนั้นสารเคมีกลุ่มนี้มีผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงน้อยกว่าสารเคมีกลุ่มอื่น ๆ ที่กล่าวไปในข้างต้น เพราะสารฟิโพรนิลไม่ค่อยมีกลิ่น - สารอื่น ๆ เช่น สารกลุ่มไซเลน (silane)
ได้แก่ Silafluofen เป็นสารเคมีที่ป้องกันเนื้อไม้ให้คงสภาพและไม่ให้เกิดเชื้อราได้ รวมถึงสามารถกำจัดแมลงได้ด้วย หรือกลุ่มสารที่สกัดจากพืชสมุนไพร เช่น ใบยูคาลิปตัส ใบเสม็ด ใบสะเดา หรือใบกะเพรา ที่สกัดในรูปแบบของน้ำมันหอมระเหย แล้วนำไปละลายกับสารเคมี เช่น ปิโตรเลียมอีเทอร์ (Petroleum Ether) คลอโรฟอร์ม (Chloroform) และ เอตทิลอะซิเตต (Ethyl Acetate) ทำให้มีฤทธิ์ในการกำจัดปลวกและแมลงต่าง ๆ ได้ แต่ข้อเสียของสารเหล่านี้คือ อยู่ในธรรมชาติได้ไม่นานและออกฤทธิ์เร็วเกินไป จึงไม่สามารถกำจัดปลวกได้ทั้งหมด
กลิ่นของยาฉีดปลวกอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร
ยาฉีดปลวกทำมาจากสารเคมีหลายชนิด โดยส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่ใช้ในทางเกษตร แต่ก็มีฤทธิ์ในการกำจัดปลวกได้ด้วย จึงมีการนำมาทำเป็นยาฉีดปลวก ซึ่งแน่นอนว่าสารเคมีเหล่านี้ก็ย่อมเป็นพิษต่อร่างกายของเราด้วย หากเราใช้ยาฉีดปลวกไม่ระมัดระวังและไม่มีการป้องกันให้ดี ยาฉีดปลวกจะทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติและก่อให้เกิดโรคได้ เช่น มะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะทารกและสตรีมีครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ หากได้รับสารเคมีที่ใช้กำจัดปลวก อาจก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงจนเสียชีวิตได้ จึงต้องเลี่ยงพื้นที่ที่มีการใช้ยาฉีดปลวก
อาการของร่างกาย เมื่อได้รับกลิ่นยาฉีดปลวกเกินขนาด
อาการของร่างกายเมื่อได้รับกลิ่นยาฉีดปลวกจะมีความรุนแรงและอาการแตกต่างกันไป เช่น รู้สึกมึน ปวดศีรษะ หายใจถี่ คลื่นไส้ อาเจียน ในกรณีร้ายแรงคือ ทำให้เกิดอาการช็อก หรือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการเหล่านี้หลังใช้ยาฉีดปลวก ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
วิธีป้องกันตนเองเมื่อใช้ยาฉีดปลวก
- สวมใส่เสื้อผ้าที่มีแขนยาว รวมถึงสวมถุงมือและถุงเท้าด้วยในขณะใช้ยาฉีดปลวก เพราะร้อยละ 95 มักรับสารเคมีผ่านการสัมผัสจากละอองที่ปลิวตามลม
- ควรใส่หน้ากากอนามัยหรืออุปกรณ์ที่ป้องกันการสูดดมสารเคมีได้ เพราะยาฉีดปลวกหรือยากำจัดแมลงต่าง ๆ ล้วนมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ
- ไม่ควรพูดคุยขณะใช้ยาฉีดปลวก เพราะละอองสารเคมีอาจลอยเข้าสู่ปากได้
- ควรทำความสะอาดสิ่งของที่อยู่บริเวณใกล้ ๆ ที่มีการใช้ยาฉีดปลวก เพราะสารเคมีอาจจะลอยไปติดได้สิ่งของเหล่านั้นได้
- สวมแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตาขณะใช้ยาฉีดปลวก เพราะตาของมนุษย์มีความไวต่อสารเคมี และสามารถดูดซับสารได้จำนวนมาก จึงอาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้
- เมื่อใช้ยาฉีดปลวกเสร็จแล้ว ต้องเก็บในที่มิดชิด ห่างไกลเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง รวมถึงเก็บให้ห่างจากเปลวไฟหรือความร้อน เพราะสารเคมีบางชนิดที่ใช้เป็นส่วนประกอบของยาฉีดปลวกเป็นสารไวไฟ
- ควรเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีการใช้ยาฉีดปลวก จนกว่ากลิ่นของยาฉีดปลวกจะหายไป
แม้ยาฉีดปลวกจะช่วยกำจัดปลวกที่มาทำลายบ้านของเรา แต่หากใช้ไม่ถูกวิธีและไม่มีการป้องกันตนเองขณะใช้ยาฉีดปลวก ก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างได้ ดังนั้นอีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดปลวกที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือการใช้บริการกำจัดปลวก หากท่านกำลังมองหาบริการรับกำจัดปลวกแบบตายยกรังโดยมืออาชีพ สามารถเลือกใช้บริการกำจัดปลวกของ โฮม แคร์ เซอร์วิส (homecareservice) ได้ เพราะเรารับกำจัดปลวก หนู มด ยุง แมลงสาบ แบบครบวงจร ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง ได้มาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยแน่นอน
สนใจปรึกษาสอบถามข้อมูล ฉีดปลวก ติดต่อ
โทร : 064-656-3365
02-004-2268
089-022-1338
065-641-1882
Line : @homecare2019
Email : salehomecare19@gmail.com